Welcome to our website Khon Kaen University Demonstration School

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น

Khon Kaen University Demonstration School

นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) คว้ารางวัลโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 10

วันที่ 2-7 กรกฎาคม 2567 นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) คว้ารางวัลการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ASPC 2024 หลายรายการ ดังนี้
.
1) คว้ารางวัลเหรียญเงิน (Silver Award) คะแนนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ
2) คว้ารางวัล 3rd Runner-up โครงงานวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ รอบ Oral presentation และ Poster presentation
3) คว้ารางวัล Popular vote จากสมาชิกผู้เข้าร่วมการประกวด 10 ประเทศ
.
เนื่องในการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 10 : ASPC 2024 (The 10th ASEAN Student Science Project Competition) ผู้เข้าร่วมแข่งขัน 10 ประเทศอาเซียน ได้แก่ ประเทศไทย, บรูไน ดารุสซาลาม, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, เมียนมาร์, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และเวียดนาม รวม 11 โครงงานวิทยาศาสตร์กายภาพ และ รวมโครงงานทั้งสิ้น 39 โครงงาน สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ และประยุกต์
.
นักเรียนผู้นำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ ได้แก่
1) นายคณพศ ตั้งพูลผลวนิชย์
2) นายวสิษฐ รัตนวิชา
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)
.
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน :
อ.สมโชค แก้วอุทัศน์ อาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ประจำชุมนุมโครงงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)
.
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน (พิเศษ) :
1) ศ.ดร.อลิศรา เรืองแสง อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหัวหน้ากลุ่มวิจัยพลังงาน Hy-Thane มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2) ดร.วรพงศ์ วงค์อามาตย์ นักวิจัยหลังปริญญาเอก กลุ่มวิจัยพลังงาน Hy-Thane มหาวิทยาลัยขอนแก่น
.
เอื้อเฟื้อสถานที่ทำการทดลอง : สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ กลุ่มวิจัย Bio-Hythane Pilot Plant KKU มหาวิทยาลัยขอนแก่น
.
สนับสนุนการเข้าร่วมการแข่งขัน : โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง “การประเมินศักยภาพการผลิตพลังงานทดแทนจากขยะอาหาร (Food waste) ด้วยกระบวนการย่อยสลายแบบไร้อากาศ” เป็นโครงงานที่ได้รับการคัดเลือกจากเวทีระดับประเทศ เนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แแห่งชาติ ประจำปี 2566 จากค่ายเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์แห่งชาติ ครั้งที่ 19 จัดโดย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระหว่างวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนั้นได้รับรางวัล “เหรียญเงิน” โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ ระดับประเทศ
.
จึงได้รับสิทธิ์สมัครเข้าร่วมการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 10 : ASPC 2024 (The 10th ASEAN Student Science Project Competition) ผู้เข้าร่วมแข่งขัน 10 ประเทศอาเซียน ได้แก่ ประเทศไทย, บรูไน ดารุสซาลาม, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, เมียนมาร์, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และเวียดนาม รวม 11 โครงงานวิทยาศาสตร์กายภาพ และ รวมโครงงานทั้งสิ้น 39 โครงงาน สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ และประยุกต์ จัดงานโดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
.
โครงงานวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้ ทางโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ได้ดำเนินการในรูปแบบของชุมนุม ชื่อชุมนุมโครงงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมี อ.สมโชค แก้วอุทัศน์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นอาจารย์ประจำชุมนุม
.
ดำเนินการโดยเปิดรับสมัครนักเรียนทั้ง ม.ต้น และ ม.ปลาย ที่สนใจทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เข้าสู่กระบวนการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเข้าร่วมการแข่งขันจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และได้รับสนับสนุนสถานที่ทดลองและอุปกรณ์การทดลองจากกลุ่มวิจัยพลังงาน Hy-Thane มหาวิทยาลัยขอนแก่น Pilot Plant KKU และคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
.
สถานที่จัดงาน องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประเทศไทย
.
ประโยชน์ของโครงงาน
ขยะอาหาร (Food waste) มีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตพลังงานทดแทน Bio-Hythane (H2+CH4) ด้วยกระบวนการย่อยสลายแบบไร้อากาศสองขั้นตอน (Two-stage anaerobic digestion) โดยให้ผลได้แก๊ส Bio-Hythane ที่มีค่าพลังงานรวม (Total energy) 1655.4 kJ/kg-Food waste ซึ่งสูงกว่าการนำขยะอาหารมาใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการย่อยสลายแบบไร้อากาศหนึ่งขั้นตอน (Sing-stage anaerobic digestion) ได้ถึง 18.5 % และเมื่อคำนวนจากปริมาณขยะอาหารที่เกิดขึ้นในประเทศไทยแล้ว หากมีการนำขยะอาหารมาใช้ในการผลิตพลังงาน Bio-Hythane ที่ 25 % แล้วนำพลังงานที่ได้ไปใช้เป็นพลังงานทดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะสามารถการลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก (GHG) ได้ถึง 318,089.9 ตัน CO2 (เทียบเท่า) ต่อปี (tCO2eq/Year) การนำขยะอาหารมาใช้ผลิตพลังงานทดแทนและสามารถลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก ซึ่งจะใช้เป็นพลังงานทางเลือกได้ในอนาคตและลดการเกิดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

ข่าวสารเพิ่มเติม